


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาระนอง
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านทับจาก ได้เปิดเรียนเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 และได้ยุบเลิกไปครั้งหนึ่ง เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2487 โดยทหารญี่ปุ่นได้ใช้อาคารเรียน เป็นที่พักทหารจนทำให้โรงเรียนสลักหักพัง จนใช้เรียนไม่ได้
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2492 ทางอำเภอพร้อมด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้าน และราษฏร ของหมู่ที่6, 7และ8ได้ร่วมมือกันสร้างโรงเรียนชั่วคราวขึ้น 1 หลัง หลังทรงปั้นหยามีขนาดกว้าง 51/2 เมตรยาว 6 เมตร สูง 7 ศอก ใช้เสาและอุปกรณ์การสร้างด้วยไม้กลมฝาขัดแตะหลังคามุงด้วยจาก คิดเป็นเงินค่าปลูกสร้างทั่งสิ้น 328 บาท (สามร้อยยี่สิบแปดบาทถ้วน) และได้สร้างเสร็จเปิดสอน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2492 โดยทางอำเภอได้แต่ตั้งให้ นายสิน สายน้ำใส ครูโรงเรียนประชาบาลตำบลน้ำจืดใหญ่3 (ร.ร.บ้านบางกุ้งในปัจจุบัน)มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โดยนายชมพู คงแสงปลัดอำเภอมาเป็นประธาน และมีผู้ปกครองนำเด็กมาฝากเข้าเรียน 28 คน ชาย 18 คน หญิง 10 คน ส่วนอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ได้รับจากแผนกศึกษาธิการ อำเภอกระบุรีทั้งสิ้น
ต่อมาทางอำเภอเห็นว่าโรงเรียนนี้อยู่ห่างไกลที่ว่าการอำเภอทางอำเภอจึงมอบให้ นายเชื่อม เจนจักรกำนันตำบลลำเลียง นายเชื้อ ภิญโญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลลำเลียง นายเพชร ซื่อตรง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ตำบล ลำเลียงร่วมกับราษฏรของหมู่ 6,7และหมู่ 8 ตำบล ลำเลียงเป็นผู้อุปการะดูแลรักษา โรงเรียนจึงได้อยู่รอดและเปิดเรียนตลอดมา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2497 อาคารเรียนชำรุดมากไม่สามารถบูรณะให้ใช้การได้ต่อไปทางแผนกศึกษาธิการอำเภอกระบุรีจึงได้ขอเงินงบประมาณ มาจัดการบูรณะใหม่ เพื่อใช้การต่อไปคิดเป็นเงิน 500 บาท ครูใหญ่ได้นำเงิน 500 บาทไปซื้ออุปกรณ์มาสร้างใหม่ตัวอาคารใหม่กว้าง 10 ศอก ยาว 15 ศอก สูง 8 ศอกมีมุขกลางจนเสร็จเรียบร้อย และได้เปิดเรียนทำการสอน เป็นเวลา 1 ปีเต็ม
ต่อมา พ.ศ. 2498 นายมังกร พรมโยธี รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการได้ออกตรวจเยี่ยมสถานที่ราชการภาคใต้ ได้มาเห็นอาคารหลังนี้ ท่านได้เบิกจ่ายเงิน ก.ส.ศ. จำนวน 10,000 บาท เพื่อสร้างอาคารใหม่ขึ้น กึ่งถาวร และมอบให้ทางอำเภอเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีขนาดกว้าง 7เมตร ยาว14 เมตร สูง 4 1/2เมตร หลังคามุงด้วยสังกะสี เสาไม้เลื่อย พื้นซิเมนต์ ฝาขัดแตะทางอำเภอได้จัดสร้างเสร็จ และปิดเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2499 และในปีเดียวกัน ทางโรงเรียนได้รับเงินค่าซ่อมแซมอีกจำนวน 7,000 บาท โดยได้เปลี่ยนจากฝาขัดแตะมาเป็นฝาไม้กระดาน ประตูหน้าต่างเป็นไม้สัก และได้ต่อเติมพื้นซิเมนต์ ด้านหน้าอีก กว้าง 75 เซนติเมตร รวมแล้วโรงเรียนหลังนี้ คิดเป็นเงินก่อสร้างทั้งหมด 17,000 บาท จึงกลายเป็นอาครถาวรขึ้น
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2510 ทางโรงเรียนได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม อีก 1 หลังในวงเงินงบประมาณ 90,000 บาท และสร้างแบบป1.ข จำนวน 3 ห้องเรียน และสร้างส้วมซึม 1 หลัง จำนวน 3 ที่นั่ง ในวงเงินสร้างอาคารเรียน 1,200 บาท และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2510
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลังคิดเป็นเงิน 15,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2511
ต่อมาในปีการศึกษา 2517 โรงเรียนนี้ได้เปิดขยายภาคบังคับ ( ป. ปลาย ) ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2517 ได้รับเงินต่อเติมบ้านพักครู หลังที่ 1( เลขที่9 )ในวงเงินงบประมาณ 8,750 บาท ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2517 ได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครูหลังที่ 2 (เลขที่ 9/1 )สร้างเสร็จในวงเงิน 35,000บาท และได้มอบให้ น.ส.วรรณา แสงศรีคำ และนางมลิวร พรหมแสง เป็นผู้พักอาศัย
ต่อมา พ.ศ.2517ได้รับงบประมาณก่อสร้าง อาคารเรียนหลังที่ 3 แบบ ป1 ก.จำนวน 3ห้องเรียน ในวงเงินงบประมาณ 130,000 บาท ระดับ ป. ปลาย และได้เปิดเรียนทำการสอน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2518
ต่อมาในวันที่ 7 ตุลาคม 2518 ทางโรงเรียนได้รับเงินสมทบจากกระทรวงสาธารณะสุข จำนวน 10,000 บาท เพื่อนำมาสร้างถังประปาน้ำฝนจำนวน 6 ถังทางโรงเรียนได้เสียสละวัสดุสมทบ พร้อมด้วยค่าแรงงานคิดเป็นเงิน 2,000 บาทเศษ
ต่อมาในปีงบประมาณ 2518 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครู 2หลังในวงเงินหลังละ 35,000 บาท รวม 70,000 บาท และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2519 ( บ้านเลขที่ 9/2 และ 9/3 )และ ส้วมแบบ401 จำนวน 5ที่นั่ง ในวงเงิน 12,000 บาท เปิดใช้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2519
ต่อมาปี พ.ศ.2520 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารจังหวัดระนองให้สร้างอาคารเรียน แบบ ป.1ก ขนาด 3 ห้องเรียน ราคา 174,800 บาทงบประมาณโรงฝึกงาน แบบ 312 ราคา 60,000 บาท งบประมาณบ้านพักครู แบบกรมสามัญ1หลังราคา 43,000 บาท และใช้เป็นที่เรียนหนังสือ สำหรับเด็กและฝึกงานส่วนบ้านพักครู ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของครูที่ปฏิบัติทำการสอน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2520
พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญ1 หลัง ราคา 70,000 บาท ส้วม 3ที่นั่ง 1 หลัง เพื่อใช้เป็นสุขาสำหรับครูและนักเรียน
3 กรกฎาคม 2523 รถเทรกเตอร์ เริ่มพัฒนาสนามให้ทางโรงเรียน ในการพัฒนาครั้งนี้ ใช้เวลา 5 วันคิดเป็นเงิน 26,000 บาท ( สองหมื่นหกพันบาทถ้วน )เงินจำนวนนี้ทางโรงเลื่อย จักรสหผล ตำบล ลำเลียงบริจาคให้ ส่วนค่าอาหาร คิดเป็นเงิน 1,480 บาท ราษฎรและคณะครูเป็นผู้บริจาค
19 กรกฎาคม 2528 ทางโรงเรียนได้งบประมาณ จาก กสช. จำนวน 15,000 บาทมาสร้างเรือนเพาะชำ ขนาด 9 x 6 เมตร จำนวน 1หลัง
2 มิถุนายน 2529 ทางโรงเรียนได้ทำการเปิดสอนชั้นเด็กเล็ก 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 20 คน
ต่อมาปีงบประมาณ 2529 ได้รับงบประมาณ จาก สปช. เป็นเงิน 25,600 บาท เพื่อซ่อมแซ่มโรงฝึกงาน แบบ 312 ดำเนินการเสร็จ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529
วันที่ 14 มีนาคม 2543 นายประพาสไชยรักษา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนทับหลีสุริยวงศ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทนนายอำนวยนพมิตร และได้ขอกำหนดตำแหน่งใหม่ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545
วันที่ 14 กันยายน 2544 นายนิติกานต์ สายศิวานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบกกราย ย้ายมาสับเปลี่ยนกับนายประพาส ไชยรักษา ต่อมามีคำสั่ง สพท.ระนองที่ 90/49 ได้แต่งตั่งนายนิติกานต์ สายศิวานนท์ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทับจาก ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2549
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 นายเอกพล ธีรกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านละอุ่นใต้ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตามคำสั่ง สพป. ที่ 571/2553
วิสัยทัศน์โรงเรียน
มุ่งเน้นพัฒนาให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ
พันธกิจ
พันธกิจในความมุ่งหวังร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. จัดการศึกษาให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตรระดับปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ และกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะ
3. จัดกระบวนการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ความเป็นไทย ภูมิปัญญา
4. จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
5. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในภารกิจการจัดการศึกษา จัดระบบการดำเนินงาน กำกับดูแล ช่วยเหลือ และให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
7. จัดหาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนให้เพียงพอต่อการใช้งานและพัฒนาคุณภาพของงาน
8. พัฒนาอาคารสถานที่ จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ และเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน และแหล่งการเรียนรู้
ข่าวประชาสัมพันธ์


แพ้เหงื่อ อธิบายถึงอันตรายต่อสุขภาพต่อผิวหนังจากความร้อน

การตั้งครรภ์ ข้อห้ามสำหรับสตรีมีครรภ์ ที่คุณควรหลีกเลี่ยง
